ความไม่เท่าเทียมกัน
ทางเศรษฐกิจ
ในประเทศไทย

จากข้อมูลบทสรุปทางนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจโดยมาตรการทางการคลัง (TRF Policy Brief ปีที่ 2 ฉบับที่ 7/2554) ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการกระจุกตัวของรายได้และทรัพย์สินสูงมากประเทศหนึ่งในเอเชีย โดยกลุ่มคนรวยที่สุด 20 % มีส่วนแบ่งรายได้ 56 % และมีส่วนแบ่งทรัพย์สิน 70 % อย่างไรก็ดี ยังคงมีความแตกต่างเรื่องรายได้อย่างมาก และประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจไม่ได้กระจายไปยังทุกคนในประเทศไทยทั้งนี้ สาเหตุของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมมีหลายประการและมีความสลับซับซ้อนมาก โดยหนึ่งในนั้นเกิดจากนโยบายของรัฐเอง เนื่องจากตามธรรมดา การออกนโยบายของรัฐจะก่อให้เกิดการได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ และเกิดผลกระทบต่อกลุ่มต่าง ๆที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม

family_finance

ขอความช่วยเหลือด้านการเงิน

ครอบครัวในสถานการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มจะพบว่าพวกเขาไม่มีงานประจำ พักอาศัยอยู่ในแหล่งที่มีสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมหรือเป็นชุมชนแออัด มักมีประวัติใช้สารเสพติดและใช้ความรุนแรงกับเด็ก ซึ่งมีสาเหตุมาจากไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ

ครอบครัวฐานะดีแต่เด็กไม่มีความสุข

แม้ว่าสถานการณ์ทางการเงินของครอบครัวมีผลโดยตรงกับชีวิตของเด็ก แต่ไม่ได้เป็นปัจจัยชี้ขาดที่นำไปสู่การกระทำทารุณ การใช้ความรุนแรง หรือการหาประโยชน์กับเด็ก ในทางตรงกันข้ามเราพบเจอกรณีที่เด็กที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะปานกลางจนถึงร่ำรวยถูกทอดทิ้ง ละเลย าเด็กที่อยู่ในสถานการณ์ดังกล่าวไม่กล้าติดต่อเข้ามาเพื่อขอความช่วยเหลือซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากหลากหลาย แตกต่างกันตามบริบทของครอบครัวเพื่อให้เด็กๆสามารถมีพัฒนาการต่อไปได้อย่างมีความสุขภายใต้การดูแลอย่างปลอดภัยของครอบครัว

ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ของเราต้องมีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนพร้อมทั้งต้องสร้างความเข้าใจในความแตกต่างและรูปแบบการเลี้ยงดูของแต่ละครอบครัวเพื่อให้แน่ใจว่าการติดต่อเข้ามาขอความช่วยเหลือทางการเงินหรือสิ่งอื่น ๆ นั้นนั้นเป็นการช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กและเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเด็กและครอบครัว