Print

เราอยู่ที่นี่
เพื่อพูดคุย
ตลอด 24 ชั่วโมง

สายด่วน1387เป็นบริการให้คำปรึกษาเบื้องต้นให้ความช่วยเหลือและติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับปัญหาของเด็กทุกคนในประเทศไทย เพื่อให้เด็กทุกคนสามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานด้วยการโทรเข้ามาขอคำปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือได้ที่สายเด็ก1387และช่องทางออนไลน์เช่นเฟสบุ๊คไลน์แอดอินสตาร์แกรมทวิทเตอร์หรือทางอีเมลได้ฟรีทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

Contact Center ทำงานกันอย่างไร?

มูลนิธิสายเด็ก1387เป็นองค์กรที่ดำเนินงานให้ความช่วยเหลือและบริการด้านคำปรึกษาซึ่งเรามีบริการสายด่วน1387พร้อมทั้งอีกหลากหลายช่องเพื่อเพิ่มความสะดวกและเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นเด็กวัยรุ่นผู้ปกครองชุมชนเรามีเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาจากหลากหลายสาขาวิชาชีพเช่นสาขาจิตวิทยาสังคมจิตวิทยาให้คำปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฏหมายที่ยินดีให้บริการทุกวัน 24 ชั่วโมงโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

มูลนิธิสายเด็ก 1387 มีแผนจะขยายการทำงานออกไปในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศให้ความช่วยเหลือเด็กๆในต่างจังหวัดเพื่ออำนวยความสะดวกและรวดเร็วกับเด็กที่ต้องการคำปรึกษาหรือเกิดเหตุฉุกเฉินและมีความจำเป็นต้องส่งต่อหย่วนงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นั้นๆต่อไปที่นี่เป็นจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเด็กและการให้ความช่วยเหลือต่างๆปัจจุบันมูลนิธิฯรับสายโทรศัพท์จากเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ถูกละเมิดสิทธิ ประมาณ 150,000 สายต่อปี ทั้งนี้จากการคำนวณด้วยศักยภาพที่มูลนิธิฯมีคอลเซ็นเตอร์สามารถรับสายโทรศัพท์เพื่อช่วยเหลือเด็กได้มากกว่า 1,500,000สายต่อปี

CSECวัดบรม 201162_191120_0010

รณรงค์ให้หยุดการแสวงหาผลประโยชน์จากเด็ก

call center

ลงพื้นที่เยี่ยมผู้ประสบปัญหาในแต่ละเคส

call centre plan

ฝึกอบรมเพิ่มทักษะความสามารถ

Call center4

ติดตามกรณีการรับบุตรบุญธรรม

“สายเด็ก 1387 เราอยู่ที่นี่ 24 ชั่วโมง ทุกวัน เพื่อช่วยเหลือเด็กทุกคน”

มูลนิธิสายเด็ก 1387 ให้ความช่วยเหลือ

HELPING CHILDREN & FAMILIES EVERY DAY

Childline staff assists children and families in multiple ways on a daily basis – problems range from loneliness
and family misunderstandings to severe abuse cases.

"Child abuse is more than broken bones and bruises. It leaves deep emotional scars which, if remain untreated, will haunt the child for the rest of his or her adult life"เด็กเศร้า

ความรุนแรงทางจิตใจ

ความรุนแรงทางจิตใจคือการทำให้เด็กได้รับความอับอาย การเรียก ชื่อพูดจาเปรียบเทียบกับคนอื่นในแง่ลบ บอกเขาว่าพวกเขาเป็นคนไม่ดี ตะคอกใส่บ่อย ๆ พฤติกรรมข่มขู่หรือแกล้ง ลงโทษด้วยการไม่สนใจ จำกัดการไม่มีการสัมผัสทางกายที่เป็นการแสดงความรัก และให้ได้เห็นการใช้ความรุนแรงหรือความรุนแรงระหว่างบุคคลอื่นแม้แต่ในครอบครัว ตัวอย่างของการละเลยเพิกเฉยเด็กเช่นการไม่จัดหาสิ่งจำเป็นพื้นฐานให้เช่นอาหาร เสื้อผ้า ดูแลความสะอาด การไปโรงเรียน การกำกับดูแล และสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในการใช้ชีวิตของเด็ก

ความรุนแรงทางกาย

ความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับการทำอันตรายทางกายในทุกรูปแบบที่กระทำกับเด็ก อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บทางกาย สมองเสียหาย ความพิการ เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาทางอารมณ์หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าว การลงโทษกับเนื้อตัวตามร่างกายแม้เพื่อการศึกษาก็ถือเป็นการกระทำรุนแรง ทั้งนี้ตามที่กฎหมายในประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่กำหนดไว้ว่าการการเขย่า ตบ ตี เป็นต้น ไม่ว่าจะเบาแค่ไหนถือเป็นรูปแบบหนึ่งของความรุนแรงทางกายและสามารถจะยกระดับให้เป็นรูปแบบที่อันตรายขึ้นไปอีกได้

ความรุนแรงทางเพศ

ความรุนแรงทางเพศเป็นรูปแบบของการกระทำที่ผู้ใหญ่หรือเด็กคนอื่นกระทำกับเด็ก เพื่อการกระตุ้นทางเพศ การกระทำทางเพศกับเด็กไม่ได้เป็นเรื่องเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์โดยการล่วงล้ำเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการกระทำเช่นบังคับเด็กให้ทำกิจกรรมทางเพศ (โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่ตามมา) การเปิดเผยอวัยวะเพศโดยไม่เหมาะสมให้เด็กดู แสดงภาพลามกอนาจารให้เด็กดู สัมผัสกับเนื้อตัวร่างกายของเด็ก สัมผัสกับอวัยวะส่วนสงวนของเด็ก หรือใช้เด็กในการผลิตภาพยนตร์ลามกอนาจาร

เราอยู่ที่นี่ เพื่อพูดคุยให้คำปรึกษา ตลอด 24 ชั่วโมง

การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์และช่องทางออนไลน์ของ มูลนิธิสายเด็ก 1387 เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของงานของเรา นอกเหนือจากสายด่วนขอความช่วยเหลือโดยทันทีแล้ว ในปี พ.ศ. 2562 มูลนิธิสายเด็ก 1387 ยังได้เพิ่มช่องทางการติดต่อเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการขอความช่วยเหลือ แจ้งเหตุฉุกเฉินหรือขอคำปรึกษาผ่านช่องทาง กล่องข้อความ Facebook, Lineแอด ทวิสเตอร์ และอินสตาร์แกรมส์อีกด้วย

OUR STAFFS ARE READY TO TALK TO YOU 24 HOURS A DAY

“เราเน้นหลักการพูดคุยให้คำปรึกษาโดยใช้หลักจิตวิทยาเด็ก เรารับฟังปัญหาอย่างไม่ตัดสิน เราสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เด็ก ๆ ได้พูดระบายความไม่สบายใจ เราทำงานร่วมกับเด็กเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด”

ตลอดระยะเวลา 16 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่มีการก่อตั้งมูลนิธิสายเด็ก 1387 เราให้ความสำคัญกับทุกปัญหา เราใส่ใจในทุกรายละเอียดของทุกสายโทรศัพท์และทุกบทสนทนา เราเรียนรู้ว่าไม่มีเรื่องไหนเล็กเกินไปและทุกความไม่สบายของเด็กและครอบครัวสำคัญเสมอ ปัญหาส่วนใหญ่ที่เด็ก ๆ เข้ามาขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาของเราผ่านช่องทาง Facebook message, Line@ and Twitter 1. ปัญหาความรัก 2.ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว 3.ปัญหาการศึกษา 4.ขอข้อมูลข่าวสาร 5.ปัญหาเพื่อน 6.ปัญหาสุขภาพ 7.ปัญหาด้านสุขภาพจิต เช่นโรคซึมเศร้า หวาดระแวงและ8รู้สึกวิตกกังวล 8.การถูกล่วงละเมิดทางเพศ 9.ทำร้ายตัวเอง 10.ปัญหาเกี่ยวกับเพศสภาพ 11.ถูกทำร้ายร่างกายและใช้ความรุนแรง

สื่อสารด้วยใจเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัย

การสื่อสารด้วยความเข้าใจและความเคารพ นำไปสู่การพูดคุยอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพที่ช่วยให้กระบวนการสื่อสารดำเนินไปได้ด้วยความไว้วางใจและให้ความร่วมมือ ซึ่งทำให้เด็กหรือผู้ที่ติดต่อเข้ามารู้สึกปลอดภัยและกล้าที่จะเปิดเผยข้อมูลกับเจ้าหน้าที่เพื่อนำไปสู่กะบวนการการให้ความช่วยเหลือที่ถูกต้อง

การสร้างความไว้วางใจ

การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาส่งผลต่อความไว้วางใจในระยะยาวจนกระทั่งเด็กและครอบครัวรู้สึกมั่นใจว่าปัญหาของพวกเขาจะถูกเก็บเป็นความลับ จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลหากไม่ได้รับอนุญาต และมั่นใจว่าเจ้าหน้าที่มีความรู้ความสามารถพร้อมที่จะช่วยเหลือพวกเขาอย่างจิงจังและจริงใจเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก

เป็นตัวกลางประสานงานความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ

เรามุ่งเน้นการทำงานร่วมกับเด็กและครอบครัวโดยยึดหลักการประโยชน์สูงสุดต่อเด็กโดยร่วมหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน อย่างไรก็ดีการตัดสินใจของเด็กหรือครอบครัวถือเป็นที่สิ้นสุด บ่อยครั้งที่มูลนิธิฯ ได้รับการร้องขอให้เป็นตัวกลางในการประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่น ๆ ในนามของเด็กและครอบครัวเพื่อสร้างความมั่นใจว่ากระบวนการการให้ความช่วยเหลือเด็กและครอบครัวเป็นไปอย่างถูกต้องและได้รับความเป็นธรรม

ช่วยเหลือเด็กในเรื่องของการศึกษา
"เด็กทุกคนต้องได้รับการศึกษาที่เท่าเทียม"

เด็กไทยทุกคนมีสิทธิเข้ารับการศึกษาตามกำหนดภาคบังคับของรัฐ อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติยังมีเด็กที่อยู่ในช่วงวัยมัธยมศึกษาถึงร้อยละ 14 ที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ส่วนใหญ่คือเด็กที่มีฐานะยากจน เด็กชาติพันธุ์ เด็กข้ามชาติ และเด็กพิการ ดังนั้นเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กและเมื่อได้รับการร้องขอความช่วยเหลือเ มูลนิธิสายเด็ก 1387 พร้อมทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องให้มั่นใจว่าเด็กได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้องและเหมาะสม

มูลนิธิสายเด็ก ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับครอบครัว โรงเรียน และกระทรวงศึกษาธิการ

โรงเรียนของในประเทศไทยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเป็นภาคบังคับไปจนกระทั่งอายุ 15 ปี สำหรับเด็กไทยทุกคนทั่วประเทศ แม้ว่ากฎหมายนี้ต้องการใช้สำหรับเด็กไทยเท่านั้น มูลนิธิสายเด็ก1387 ก็ได้ดำเนินการเพื่อให้เด็กจำนวนมากที่ไม่มีบัตรประจำตัวได้เข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ซึ่งแสดงถึงความพยายามของกระทรวงศึกษาธิการที่ยอมให้เด็กได้รับการศึกษาขณะเดียวกันก็หวังว่าจะได้รับบัตรประจำตัวคนไทยในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่จะทำให้พวกเขาสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้เท่าเทียมกับคนอื่น ๆ ในสังคมไทยในอนาคต

มูลนิธิสายเด็ก 1387 ทำงานอย่างใกล้ชิดกับครอบครัวและโรงเรียนทั่วประเทศ สำหรับกรณีที่ต้องการความสนใจเป็นพิเศษเช่น เด็กที่ต้องการย้ายโรงเรียนตามพ่อแม่ที่ไปทำงานที่จังหวัดอื่น เด็กที่ติดเชื้อ HIV เด็กพิการ เด็กที่ถูกกระทำทารุณ และเด็กเร่ร่อน และเด็กที่ไม่มีเอกสารประจำตัว เหล่านี้เป็นจุดที่ มูลนิธิสายเด็ก 1387 จะเข้ามาเติมช่องว่างระหว่างครอบครัวกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เป็นจุดเชื่อมต่อที่หายไปเพื่อการเริ่มต้นชีวิตใหม่

เด็กทุกคนมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ เด็กทุกคน รวมทั้งเด็กที่เกิดจากผู้อพยพกรณีไม่ปกติ จะต้องมีสิทธิได้รับการจดทะเบียนการเกิด แต่ในทางปฏิบัติ มีปัญหาหลายอย่างในการนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวสู่การปฏิบัติ ทำให้เด็กอีกจำนวนมากเป็นคนไร้สัญชาติ

ข้อ 7 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ระบุว่า :

“เด็กต้องได้รับการจดทะเบียนทันทีเมื่อเกิดและมีสิทธิได้รับชื่อและสัญชาติและรู้จักและได้รับการดูแลโดยบิดามารดาของตนรัฐต้องทำให้แน่ใจว่ามีการดำเนินการตามสิทธิโดยเป็นไปตามกฎหมายของประเทศและความผูกพันของตนภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีหากไม่มีการดำเนินการดังกล่าว เด็กอาจจะกลายเป็นคนไร้สัญชาติ”

“ในประเทศไทย แม้ว่าจะไม่ทราบตัวเลขจริง ๆ แต่เชื่อกันว่ามีเด็กมากกว่าหนึ่งล้านคนเกิดในแผ่นดินไทย ทั้งจากคนไทยหรือคนต่างด้าว เช่น เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา ยังคงไม่ได้รับการจดทะเบียน เหตุผลว่าทำไมพ่อแม่จึงไม่ได้ไปจดทะเบียนการเกิดบุตรของตน เช่น ไม่ทราบถึงความสำคัญของการจดทะเบียนการเกิด ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปจดทะเบียนเด็กเกิดใหม่ ระยะทางไกลจากสำนักงานทะเบียน มีอุปสรรคด้านกฎหมาย สังคม และวัฒนาธรรม และสำหรับผู้อพยพย้ายถิ่นส่วนใหญ่ กลัวว่าจะถูกจับได้จากการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ประเทศไทยเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กปี 2532 อย่างไรก็ดี ได้ระบุข้อสงวนตามอนุสัญญาดังกล่าวขณะให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาในปี 2535

ความปลอดภัยในโรงเรียน

ความรุนแรงในโรงเรียนกำลังกลายเป็นปัญหาที่ร้ายแรงมากขึ้น โดยเฉพาะความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธในโรงเรียนเช่นความรุนแรงระหว่างเด็กนักเรียน การทำร้ายร่างกายโดยเด็กนักเรียนกระทำกับเจ้าหน้าที่โรงเรียนและการลงโทษกับเนื้อตัวร่างกายหรือการกระทำรุนแรงโดยครูและเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนกับเด็ก

"ประเทศไทยมีประวัติยาวนานเรื่องการทำโทษโดยการตีหรือใช้ความรุนแรงและแม้ว่าในปัจจุบันการลงโทษด้วยวิธีดังกล่าวการกระทำที่มิชอบทางกฏหมายแต่ก็ยังพบการใช้วิธีการนี้กันอยู่บ่อยๆโดยคุณครูไม่รู้สึกว่าเป็นการกระทำที่ผิด"

ความรุนแรงโดยคุณครู

ความรุนแรงโดยครูไม่ค่อยได้มีการรายงานเนื่องจากส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นการลงโทษรูปแบบหนึ่ง แม้แต่กรณีที่เด็กมาบอกเรื่องดังกล่าวกับพ่อแม่ผู้ปกครองของตน คำตอบมักจะเป็น “หนูทำอะไรผิดล่ะ” เด็กจึงมักเก็บเรื่องดังกล่าวไว้และเรื่องทั้งหมดก็ดำเนินต่อไปโดยไม่มีใครสนใจ เมื่อมูลนิธิสายเด็ก 1387 ได้รับสายเกี่ยวกับการที่เด็กถูกกระทำรุนแรงโดยคุณครู เราจะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการช่วยเหลือเด็กผู้ถูกกระทำให้ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาทั้งร่างกายและจิตใจ

การข่มเหงรังแก

การข่มเหงรังแกดูเหมือนจะเป็นรูปแบบความรุนแรงระหว่างเด็กด้วยกันที่แพร่หลายมากที่สุด การข่มเหงรังแกมีทั้งการกระทำกับเนื้อตัวร่างกายเด็ก ด้วยวาจา หรือทางจิตใจ เช่น การตี การผลัก ดึงผม แกล้งเรียกชื่อ ทรมาน เป็นต้น โดยปกติหากความรุนแรงเกิดขึ้นในโรงเรียน เรื่องก็มักจะไม่แพร่งพรายออกมา พยาน เหยื่อ และผู้กระทำผิดต่างยอมรับว่ามันเป็นเรื่องปกติของชีวิตหรืออาจจะปิดปากเงียบเพราะกลัวและอาย

การแก้ไขปัญหาเรื่องการข่มเหงรังแกต้องอาศัยความร่วมมือของพ่อแม่ผู้ปกครอง ครู เจ้าหน้าที่โรงเรียน และนักเรียนคนอื่น เหยื่อของการถูกข่มเหงรังแกเป็นเวลานานมักต้องทนทุกข์กับสภาพที่ไม่มีความภาคภูมิใจในตัวเองมีความกังวลในการเข้าสังคมและอาจส่งผลกระทบระยะยาวในรูปแบบอื่นๆ การดำเนินการช่วยเหลือเพื่อเยียวยาสภาพจิตใจของเด็กจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทางมูลนิธิฯเล็งเห็นและประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ประเมินการให้ความช่วยเหลือในทันที

ความเหลื่อมล้ำทางเศรษกิจในประเทศไทย

จากข้อมูลบทสรุปทางนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจโดยมาตรการทางการคลัง (TRF Policy Brief ปีที่ 2 ฉบับที่ 7/2554) ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการกระจุกตัวของรายได้และทรัพย์สินสูงมากประเทศหนึ่งในเอเชีย โดยกลุ่มคนรวยที่สุด 20 % มีส่วนแบ่งรายได้ 56 % และมีส่วนแบ่งทรัพย์สิน 70 % อย่างไรก็ดี ยังคงมีความแตกต่างเรื่องรายได้อย่างมาก และประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจไม่ได้กระจายไปยังทุกคนในประเทศไทยทั้งนี้ สาเหตุของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมมีหลายประการและมีความสลับซับซ้อนมาก โดยหนึ่งในนั้นเกิดจากนโยบายของรัฐเอง เนื่องจากตามธรรมดา การออกนโยบายของรัฐจะก่อให้เกิดการได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ และเกิดผลกระทบต่อกลุ่มต่าง ๆที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม

ขอความช่วยเหลือด้านการเงิน

ครอบครัวในสถานการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มจะพบว่าพวกเขาไม่มีงานประจำ พักอาศัยอยู่ในแหล่งที่มีสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมหรือเป็นชุมชนแออัด มักมีประวัติใช้สารเสพติดและใช้ความรุนแรงกับเด็ก ซึ่งมีสาเหตุมาจากไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ

ครอบครัวฐานะดีแต่เด็กไม่มีความสุข

แม้ว่าสถานการณ์ทางการเงินของครอบครัวมีผลโดยตรงกับชีวิตของเด็ก แต่ไม่ได้เป็นปัจจัยชี้ขาดที่นำไปสู่การกระทำทารุณ การใช้ความรุนแรง หรือการหาประโยชน์กับเด็ก ในทางตรงกันข้ามเราพบเจอกรณีที่เด็กที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะปานกลางจนถึงร่ำรวยถูกทอดทิ้ง ละเลย าเด็กที่อยู่ในสถานการณ์ดังกล่าวไม่กล้าติดต่อเข้ามาเพื่อขอความช่วยเหลือซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากหลากหลาย แตกต่างกันตามบริบทของครอบครัวเพื่อให้เด็กๆสามารถมีพัฒนาการต่อไปได้อย่างมีความสุขภายใต้การดูแลอย่างปลอดภัยของครอบครัว

ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ของเราต้องมีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนพร้อมทั้งต้องสร้างความเข้าใจในความแตกต่างและรูปแบบการเลี้ยงดูของแต่ละครอบครัวเพื่อให้แน่ใจว่าการติดต่อเข้ามาขอความช่วยเหลือทางการเงินหรือสิ่งอื่น ๆ นั้นนั้นเป็นการช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กและเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเด็กและครอบครัว